18 มกราคม 2565
Rate this item
(0 votes)
อัลฮัมดุลิลลาฮ ทางจังหวัดอนุญาตให้เปิดเรียนออนไซต์ได้ทั้งนักเรียนหอพักและไป-กลับ(แบบมีเงื่อนไข)เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (10/1/65)
 
ภาคเรียนที่ ๑ ที่ผ่านมา หลังพยายามวางระบบและแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนออนไลน์ ประเด็นสำคัญที่ค้นพบก็คือ แม้ระบบการเรียนออนไลน์จะมีประสิทธิภาพแค่ใหน แต่ก็มีนักเรียนที่ประสบปัญหาจากการเรียนในระบบนี้ ทั้งการเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ต/ห้องเรียนออนไลน์ อุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม ปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่ขาดแรงจูงใจและการแนะนำเอาใจใส่จากผู้ปกครอง ตั้งธงได้เลยว่านักเรียนกลุ่มนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องได้รับการซ่อมเสริม มิฉะนั้นเขาจะตามคนอื่นไม่ทันหรือหลุดไปจากระบบการศึกษาไปเลย ถ้าจะเปิดเรียนออนไซต์ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มแรกๆที่จะต้องได้รับโอกาสนั้น
 
q1
Rate this item
(0 votes)
บุคลากรครูฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 (จากนักเรียน 2,500 คน) เป็นตัวเลขกลมๆสำหรับเงื่อนไขการเปิดเรียนออนไซต์เทอม 2/2564 แบบมีเงื่อนไข (เว้นระยะ เรียนไม่เกิน 25 คนต่อห้อง สลับกันเรียน ฯลฯ)
ยังมีประเด็นเรื่องการจัดการหอพัก (นักเรียนหอพัก 600 คน) ห้องเรียน โรงอาหาร รถโรงเรียน และสถานการณ์การระบาดของโควิดในบางพื้นที่ก็ยังไม่ได้ลดลง ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นอะมานะห์อันหนักอึ้งที่ต้องตัดสินใจด้วยความรับผิดชอบจากข้อมูลรอบด้าน
สิ่งสำคัญที่อยู่นอกเหนือ authority ของโรงเรียนก็คือกำหนดการฉีดวัคซีนแก่นักเรียนที่อาจจะยืดเยื้อจนถึงกลางเดือน พ.ย. วัคซีนจะมาตามกำหนดการหรือไม่ ? และหลังเปิดเรียน จะเกิดการระบาดรอบ 4 ตามที่เขาคาดการณ์กันหรือไม่ ?
ฉะนั้นการเปิดเรียนเทอมสองในวันจันทร์ที่ 1 พ.ย. 64 ที่จะมาถึงนี้ จึงจะเริ่มด้วยการเรียนออนไลน์เหมือนๆกับที่เรียนในเทอมหนึ่ง เมื่อเงื่อนไขในการเปิดเรียนออนไซต์พร้อม ถึงจะทยอยจัดการเรื่องการเข้าหอพัก การเข้าเรียนออนไซต์สำหรับกลุ่มที่ขาดโอกาสอย่างนักเรียนกลุ่ม C ที่ไม่มีโอกาสเช้าถึงการเรียนออนไลน์เลย นักเรียนกลุ่ม A และ B ที่เข้าเรียนออนไลน์ในเทอมหนึ่งไม่ถึงร้อยละ 50 และต้องมาสอบที่โรงเรียนเพิ่มเติมเพื่อตัดสินผลการเรียน รวมถึงนักเรียน ม.6 ที่เป็นเทอมสุดท้ายสำหรับพวกเขาที่นี่
ในช่วงทีดำเนินการเรื่องที่กล่าวมาจนกว่าจะสามารถเข้าเรียนออนไซต์ในครบร้อยเปอร์เซนต์ การจัดการเรียนการสอนก็จะไม่หยุดชะงัก ยังสามารถเรียนออนไลน์ต่อไปได้
 
หากสามารถเปิดเรียนออนไซต์ได้แล้ว ...... อินชาอัลลอฮ ตารางสอนจะยังคงรูปแบบเหมือนตอนเรียนออนไลน์จนสิ้นภาคเรียน คือเรียน 4-5 วิชาต่อวัน อาจจะแทรกรายวิชาปฏิบัติอย่างพลศึกษาและเกษตรเพิ่มเข้ามาและปรับจากที่เริ่มเรียน 8.10 เป็น 8.30 น. (ไม่ใช่ 9 คาบ/วันเหมือนช่วงปกติ) ต้องพร้อมเสมอที่จะกลับไปเรียนออนไลน์ หากเกิดระบาดอีกครั้ง
คาดว่าในช่วงเดือนแรกที่เปิดออนไซต์ได้ จะยังต้องสลับกันเรียน จึงตัดสินใจติดตั้งสมาร์ททีวีพร้อมเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ครบทุกห้อง เพื่อให้คุณครูสามารถแชร์หน้าจอแทบเล็ตหรือโน๊ตบุคสอนนักเรียนในห้องเรียนและออนไลน์ได้พร้อมๆกัน
 
สำหรับคุณครู จากที่ท่านสอนออนไลน์มาตลอดเทอมหนึ่ง โรงเรียนได้ประเมินและแบ่งคุณครูเป็นกลุ่ม A B และ C ขณะนี้ทีมวิชาการกำลังวางแผนอยู่ว่าจะให้คุณครูกลุ่ม A เป็นแกนนำในการช่วยเหลือและพัฒนาคุณครูที่เหลืออย่างไรบ้าง และคุณครูกลุ่ม B และ C จะต้องอบรมเพิ่มเติมด้านใหนบ้างในเดือนตุลาคมนี้ เพื่อจะสามารถสอนในเทอมสองได้อย่างมีประสิทธิภาพและเปลี่ยนผ่านสู่การสอนที่สามารถเข้าถึงและใช้สื่อออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ แม้จะได้เรียนออนไซต์แล้วก็ตาม
 
สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง หากมีกำหนดการและรูปแบบการฉีดวัคซีนที่ชัดเจนจากต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางโรงเรียนจะจัดประชุมออนไลน์ชี้แจง รวมถึงสื่อสารผ่านไลน์ห้องเรียน แต่หากมีการฉีดวัคซีนเชิงรุกในพื้นที่ช่วงนี้ มีโอกาสฉีดได้ก่อน ก็ให้รีบไปฉีดได้เลย โดยไม่ต้องรอฉีดที่โรงเรียน
الله المستعان
ขอดุอาจากเอกองค์อัลลอฮ ให้เราผ่านช่วงแห่งการทดสอบนี้ไปได้โดยราบรื่นด้วยเถิด
Rate this item
(0 votes)
เป็นผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมแห่งหนึ่ง ไม่ใช่โรงเรียนในตัวจังหวัด แต่ตั้งอยู่ในชนบท กลางหุบเขา โรงเรียนชายแดน(รอยต่อจังหวัดปัตตานี ยะลา สงขลา) น่าจะสะท้อนภาพของโรงเรียนมัธยมส่วนใหญ่ในประเทศไทยได้บ้าง
ตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด จนเปิดเรียน On-Site ไม่ได้ ก็พยายามแบ่งกลุ่มนักเรียนจากการเข้าถึงการเรียนออนไลน์เพื่อสะดวกในการจัดการเป็น A B C
ยังไงบ้าง ?
 
A เป็นกลุ่มนักเรียนที่เข้าถึงการเรียนออนไลน์ มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์และสภาพความเป็นอยู่ ฯลฯ สามารถเข้าเรียนตามตารางเรียนออนไลน์ได้ รวมถึงสามารถเข้าสอบวัดผลออนไลน์ตามตารางที่โรงเรียนกำหนดได้
นับแต่เรียนออนไลน์มา ปรับตารางสอนมาแล้วสามครั้ง โดยประเมินจากความพร้อมของทั้งครูผู้สอนและนักเรียน ปรับครั้งล่าสุด ลดเวลาเรียนไป 4 ชั่วโมง 40 นาที อันนี้นักเรียน ม.๑ เขานับให้ ไม่คิดว่านักเรียนจะซีเรียสเรื่องเวลาเรียนขนาดนี้
 
B เป็นกลุ่มนักเรียนที่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ แต่ไม่พร้อมจะเข้าเรียนตามตารางเรียนออนไลน์ อาจจะเป็นเพราะปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว ทำให้ต้องแบ่งปันอุปกรณ์ที่ใช้เรียนออนไลน์กับพี่น้อง ต้องทำงานช่วยเหลือผู้ปกครองในช่วงเวลาเรียน หรือแม้แต่มีปัญหาสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ ฯลฯ
สำหรับกลุ่มนี้ คือการพัฒนาระบบการบันทึกวิดิโอการสอนให้กลุ่มนี้เข้ามีโอกาสเข้าไปเรียนในเวลาที่ว่างหรือพร้อม โรงเรียนมีระบบ Google Workspace for Education Fundamentals ใช้เฉพาะเป็นขององค์กรอยู่หลายปีแล้ว เมื่อเกิดวิกฤติโควิด จึงอัพเกรดไม่กี่สิบ user ให้เป็น Teaching and Learning Upgrade ก็เพียงพอที่จะบันทึกการสอนของครูได้ทุกครั้ง จัดระบบให้บุคลากรครูได้จัดเก็บคลิปการสอนอย่างเป็นระบบ รวมถึงเปิดโอกาสให้คุณครูที่จัดการ/ตัดต่อวิดิโอได้เองให้ได้แนะนำช่วยเหลือเพื่อนครูด้วยกัน ฝ่ายบริหารสามารถนำคลิปสอนเหล่านี้มาใช้นิเทศเพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนของครูเป็นรายบุคคลได้ และนักเรียนทั้งกลุ่ม A และ B ก็สามารถเข้าไปทบทวนคลิปการสอนได้เป็นระยะๆ
 
C คือกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบออนไลน์ได้เลย เป็นกลุ่มที่ขาดโอกาสและเสี่ยงจะหลุดออกจากระบบการศึกษามากที่สุด โรงเรียนทำได้อย่างมากที่สุดก็คือให้เรียนโดยใช้ใบงาน แต่ก็อย่างที่รู้ๆกัน ประสิทธิภาพในการเรียนรู้แทบจะไม่มีเลย ผู้ปกครองในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้วก็ไม่พร้อมที่จะช่วยสอนลูก แทบจะไม่มีเวลาอยู่กับลูกด้วยซ้ำ
กลุ่มนี้ต่างหากที่ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสังคมทั่วไป จะต้องทุ่มเท หามาตรการรวมถึงทุ่มงบประมาณ เพื่อให้พวกเขาสามารถถีบตัวเองอย่างน้อยก็เป็นกลุ่ม B ได้
.
ข้อสังเกตคือ ที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มในระบบอยู่เสมอ ผู้ปกครองหลายท่านดิ้นรนจนสามารถหาซื้อโทรศัพท์ให้ลูกเรียนจนได้ เคสล่าสุดที่ครูที่ปรึกษาคีย์เข้าระบบ คือเปลี่ยนจาก A เป็น B เพราะโทรศัพท์ของลูกเสีย ขอเวลาซักระยะจนกว่าจะหาเงินซื้อเครื่องใหม่ให้ เห็นแบบนี้แล้วเอ็นดู มีโทรศัพท์เครื่องเก่าอยู่ก็อยากให้ไปใช้ก่อน จนกว่าจะซื้อใหม่ได้
 
ที่เล่ามาคือประเด็นของการจัดการผู้เรียน ยังมีเรื่องของบุคลากรครู(เจอโควิดสาหัสจริงๆ) เทคนิคการสอนออนไลน์และอุปกรณ์สื่อการสอนทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ฯลฯ ยังต้องทำอะไรอีกมาก และต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้/แชร์ประสบการณ์จากเพื่อนผู้บริหารอย่างยิ่ง
 
ไม่เห็นด้วยหากจะหยุดเรียน ๑ ปีการศึกษาตามที่นักวิชาการท่านหนึ่งนำเสนอ เหมือนปิดแบบยอมแพ้ มันมีวิธีแก้ที่ดีกว่า เช่นขยายเวลาของภาคเรียนที่ ๒ หรือเพิ่มภาคเรียนที่ ๓ (หากสถานการณ์โควิดดีขึ้น) เพื่อซ่อมเสริมในส่วนที่ต้องเสียโอกาสไป ทุ่มเททรัพยากรให้ตรงจุดกับกลุ่มนักเรียนที่มีอยู่หลากหลาย แทนที่จะเทกระจาดแจกไปทั่ว บางคนจำเป็นมาก แต่หลายคนก็พร้อมอยู่แล้ว
09 มีนาคม 2559
Rate this item
(0 votes)

12801504

สุริยุปราคาบางส่วน ณ ตำแหน่ง 6°41'31.2"N 101°08'22.0"E วันที่ 9 มีนาคม 2559  โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จ.ปัตตานี  ถ่ายตั้งแต่เวลา 7:11-8:37 น. ถ่าย 2 นาที ต่อ 1ภาพ 1/20 F--

f ภาพการเกิดสุริยุปราคาแต่ละช่วง